หน้าเว็บ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ซีรีส์เตือนสติคนติดเกมมือถือตอนที่ 1 "โหดเหี้ยมอำมหิต...วิธีการอันไร้ความปรานีที่จะใช้ทำให้ชาร์จเงินเข้าเกม"

***Warning***

บทความนี้เป็นบทความที่นำมาจากเวปญี่ปุ่นที่เซนเซไปอ่านพบอย่างเช่นเคย แต่ครั้งนี้อยากเน้นให้เป็นพิเศษ ไม่ได้มีเจตนาจะว่าร้ายบุคคลใด รวมถึงคนเล่นเกมและบริษัทเกม เพียงแต่ขอย้ำว่าอยู๋บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ต้องเตือนสติกันให้รู้ตัวพอๆกับลัทธิจานบินบางแห่ง





เกมมือถือหรือที่เรียกว่าโซเชียลเกมคืออะไร ?

ตามหลักการก็คือ Social Networking Service Game (เกมที่ใช้บริการบนเครือข่าย) จะเรียกภาษาชาวบ้านเลยก็คือเกมมือถือที่บอกว่าโหลดฟรี (หรือบางกรณีต้องซื้อแต่จะถูกมาก เช่น 36 บาท) ผ่านตลาดแอฟทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น IOS , Android และรวมทั้งบรรดาบราวเซอร์เกมที่เล่นบนอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย

"แล้วโซเชียลเกมมันไม่ดีตรงไหน ? ก็ฟรีนี่่นา ถ้าไม่อยากจ่ายก็ไม่ต้องเติมเงิน"

ก็จริงครับ แต่มันก็มีหลากหลายวิธีการอันโหดเหี้ยมอำมหิตที่จะยั่วกิเลศตัฒหาของผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อสูบรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และเป็นยุทธศาสตร์การค้าที่ทำกันอย่างถึงพริกถึงขิงมีการวางแผนเอาไว้อย่างแยบยลเปรียบเปรยราวกับเป็นกับระเบิดดีๆนี่เอง



กับดักแรก ระบบที่ใช้ "ค่าพลังงาน" ที่จะเพิ่มคืนกลับมาตามเวลา

เพิ่มตามเวลา หรือปั้มเอาด้วย "เพชร"

เวลาเราเล่นโซเชียลเกมก็แน่นอนว่า สนุกสุดมันส์ครับ
พอสนุกก็จะเริ่มเช็คหาข้อมูลในเน็ตว่าจะเลี้ยงมอนสเตอร์ยังไงให้มีประสิทธิภาพ  จะเคลียร์ดันเจี้ยนยังไง ต้องทำยังไงถึงจะเก่ง  ค้นหาข้อมูล  เรียนรู้  เล่น  และแล้วพลังงานก็หมดลงตอนกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม
(อย่างเกม Puzzel Dragon ก็คืน 1 พลังงานต่อ 10 นาที)

แล้วพอเล่นไม่ได้จะรู้สึกอย่างไรล่ะ
อยากเล่น  อารมณ์ค้าง  อยากจะซื้อเพชรมาชาร์จพลังงานมันซะเลย
อ๊ะ  แต่ว่าไม่อยากจะชาร์จเงิน (เสียดายสตางค์) ก็เลยทน  ทนได้แต่ทรมาณใจก็เลยนอน  คิดว่านอนแล้วเมื่อตื่นขึ้นมาพลังงานก็จะฟื้นมาให้เล่นต่อ ก็เลยฝืนข่มตานอน

ความรู้สึกตรงนี้ คุณคิดว่าเหมือน การพนันหรือไม่ครับ ?

การรอให้พลังงานฟื้นก็คล้ายกับการรอให้แหล่งบริการคาสิโน โต๊ะบอล บ่อนหวย เปิดให้บริการ
ถ้าเผลอชาร์จเงินไปสักครั้ง จะติดเป็นความรู้สึกแบบเดียวกันหรือเปล่า  เป็นแน่นอน

ประสาทสัมผัสยับยั้งชั่งใจเรื่องเงินจะด้านชา  แล้วก็เทเงินเข้าไปในเกม


นอกจากนั้นแล้วเวลาที่ทำมาหากิน ทำงานบ้าน พลังงานก็จะฟื้นกลับมาพอดี... ระยะเวลาตรงนั้นก็ถูกดีไซน์คำนวนเซ็ตเอาไว้แล้วอย่างเหมาะเจาะ  เวลาพักผ่อนหย่อนใจก็จะได้หยิบโซเชียลเกมขึ้นมาเล่น  จนในที่สุดก็หยุดไม่อยู่


กับดักที่สอง ทำให้รู้สึกว่า "ต้องเล่น" ด้วยอิเวนท์จำกัดช่วงเวลาเสริมมาอย่างติดต่อไม่ขาดช่วง

อิเวนท์จำกัดเวลา เจ้าสาวหน้าร้อน
โดยเฉพาะกับโซเชียลเกมที่เป็นที่นิยมมีคนดาวน์โหลดมากมาย เควสเสริมหรืออิเวนท์จำกัดช่วงเวลาจะมาบ่อยมาก  จบอิเวนท์นี้ต่ออิเวนท์หน้ากันจนเป็นเรื่องธรรมดา

พอขยันเล่นกับอิเวนท์พวกนี้ก็เท่ากับต้องผลาญเวลาไปกับมันมากขึ้น พอหยิบขึ้นมาเล่นได้ง่ายก็ทำให้เกมกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ถ้ายิ่งหนักข้อเข้ารายที่กระทบกับชีวิตประจำวันก็มีให้พบเห็นกันได้ทั่วไป (นักเรียนที่เล่นจนผลการเรียนตก แม่บ้านที่เล่นจนลืมทำงานบ้าน)

สาเหตุก็แยกตามแต่ละรายไป แต่ก็มีหลายเคสที่พลาดจังหวะที่จะหักดิบเลิกเล่นเพราะว่าต้องเล่นตามเพื่อนที่เล่นด้วยกันในเกมถูไถเล่นต่อไปเรื่อยๆ

จะว่าไปแล้วโซเชียลเกมก็คือ เกมออนไลน์ที่เล่นได้ทุกที่ทุกเวลา


กับดักที่สาม  "กาฉะปอง" ตัวการทำให้สมองหลั่งสารความสุขออกมาเวลาสุ่มได้แลร์

โอ๊ะ การ์ดในชุดคอมพลีทออกมาตั้ง 3 ใบ




ความเป็นเกมที่ยั่วใจให้เสี่ยงแทงของโซเชียลเกมถูกมองเป็นปัญหากันมานานแล้ว  ปัจจุบันนี้รายใหญ่ๆอย่างเช่น Puzzel Dragon , Monster Strike ก็พาดลงโฆษณาตามสื่อต่างๆมากมาย เนื้อหาของนิตยสารเกมเกือบ 1 ใน 3 ต้องนับว่าเป็นการประโคมโฆษณาโซเชียลเกม

เกมประเภทนี้มักจะถูกมองเป็นปัญหาในส่วนของเจ้าระบบกาฉะ (การสุ่มด้วยระบบอิเลคโทรนิคส์) นี้เอง
 จุดที่โหดเหี้ยมมากที่สุดก็คือ เจ้าของตัวเกมสามารถตั้งอัตราได้ตามใจชอบ ว่าไปแล้วก็คือ การพนันชนิดที่ไร้ความยุติธรรมยิ่งกว่าตู้สล็อตเสียอีก เมื่อถูกมองเป็นปัญหาในปัจจุบันก็เลยมีการใช้ค่าดิจิตอลตัวอื่นแทนเงินสดเหมือนกับเป็นการหลบเลี่ยงกฎหมาย อย่างเช่น Puzzle Dragon ใช้แทนเป็นค่าหินเวทมนต์ Monster Strike ใช้ค่าลูกแก้ว


"การเสริมแรงเป็นครั้งคราว"  คำนี้เป็นศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยาหมายถึง "แทนที่จะให้รางวัลทุกครั้งเมื่อกระทำพฤติกรรม แต่ใช้วิธีการให้เป็นบางครั้งจะทำให้กระทำพฤติกรรมซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่ต้องให้รางวัล"

กาฉะก็เป็นการใช้หลักการ "การเสริมแรงเป็นครั้งคราว" ในการแทรกการ์ดแลร์ผสมเอาไว้ ท่ามกลางการ์ด-ไอเทมขยะจำนวนมาก ดังนั้นความรู้สึกมีความสุขเมื่อสุ่มได้แลร์หลังจากที่ทนทุกข์ทรมาณกับการสุ่มได้ขยะจึงได้มีอาการเป็นแบบการเสพติด



กับดักที่สี่  การกดสุ่มกาฉะเพื่อให้ได้แลร์ไอเทมแบบลิมิตและเพื่อความรู้สึกที่เหนือกว่าคนอื่น

แลร์จำกัดช่วงเวลา เฉพาะตอนนี้เท่านั้น

การนำเสนอการ์ดที่ชูป้ายไว้แต่แรกว่า "จำกัดเฉพาะช่วงนี้" เป็นการจี้จุดอ่อนโดยเฉพาะคนญี่ปุ่นที่ "แพ้คำว่าสินค้าลิมิตเทด" เพื่อกระตุ้นให้ผู้เล่นใส่เงินเข้าไปให้มากที่สุดก่อนที่จะหมดช่วงเวลานั้น

อีกด้านหนึ่งก็คือ การมีแลร์ไอเทม ตัวละครหายากจะทำให้คนอื่นอิจฉา หากมีการจัดอันดับก็สามารถติดอันดับต้นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้คนที่อยากเด่นอยากดังทุ่มเงินที่จะหยอดสุ่ม



กับดักที่ห้า  โครงสร้างเกมที่สุดท้ายแล้วผู้เล่มกลุ่มที่ไม่ชาร์จเงินก็ไม่มีทางชนะกลุ่มที่ชาร์จเงิน



จากเรื่อง Eroge no Taiyou
เกมเหล่านี้จะถูกออกแบบให้ตอนแรกแม้จะพยายามเล่นแบบไม่ชาร์จได้ แต่เมื่อทนไปสักพักความลื่นไหลในการเล่นจะตกลงอย่างมาก

กลุ่มผู้เล่นที่ชาร์จเงินจะหยิบฉวยเอาการ์ดหรือไอเทมที่กลุ่มไม่ชาร์จเงินต้องใช้เวลายาวนานลำบากหามาได้มาโดยง่าย กลุ่มไม่ชาร์จเงินที่โดนกระตุ้นต่อมโมโห ให้รู้สึกเสียศักดิ์ศรีก็จะพลิกผันกลายเป็นกลุ่มชาร์จเงินบ้าง

คำโฆษณาที่บอกว่า ดาวน์โหลดเล่นฟรี Free to Play ก็เหมือนกับเศษขนมปังที่ฝ่ายผู้ผลิตเกมหว่านให้เหยื่อมาติดเบ็ดนั่นเอง

อ้างอิงจาก http://iitokoronet.com/2015/12/04/post-4932/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น